นอกจากจะเป็นนางเอกภาพยนตร์จากเรื่อง “ปิดป่าหลอน” และเจ้าของเพลง Boys Don’t Cry สาวสวยมากความสามารถแล้ว อีกบทบาทหนึ่งของ จูน นาตาชา มณีสุวรรณ์ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้คือการอุทิศตนเพื่อสังคมมายาวนานกว่า 10 ปี ด้วยการเป็นประธานโครงการ friend of Juneและประธานผู้ก่อตั้งโครงการ WORLD TREND Soft Power ( To the international relations and economy ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะใช้ศักยภาพจากซอฟพาวเวอร์ในมิติต่างๆของประเทศไทยเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ล่าสุดได้จัดการแข่งขันมัคคุเทศก์ ระดับประเทศไทย ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์และผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ทุกด้านของไทย ให้เสน่ห์ไทยดังไกลทั่วโลก พร้อมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สู่การเผยแพร่ความเป็นไทยต่อชาติอื่น ให้ต่างชาติอยากมาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศไทย สู่การกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆของประเทศ โดยงานมีขึ้นเมื่อวันที่ 23สิงหาคม 2567 ณ โรงภาพยนตร์วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จัดโดยบริษัทเจ ดี มาน มาร์เก็ตติ้ง แพลนเนอร์ จำกัด
จูน นาตาชา ให้สัมภาษณ์ว่า “ที่ผ่านมาจูนทำกิจกรรมหลากหลายเพื่อช่วยเหลือสังคมมากว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นลงพื้นที่ช่วยเหลือน้ำท่วมและส่งเสริมการเรียนรู้ให้ทุนการศึกษาแก่น้องๆนักศึกษา ในโครงการ friend of June,การไปเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างแดน และอื่นๆอีกมากมาย ล่าสุดจูนได้เป็นประธานผู้ก่อตั้งโครงการ WORLD TREND Soft Power (to the international relations and economy) จูนพูดเสมอว่าในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยเราเองและทั่วโลกต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายมิติ ไม่จะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งบางอย่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้และพวกเราก็ล้วนได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านั้น เช่น โรควิบัติใหม่อย่างโควิด19 ,climate change,ภัยคุกคามในมิติต่างๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้บริบทในบ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือแม้แต่การท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ทุกแขนงเกิดความเสียหายทั่วโลก ตอนนี้เหตุการณ์หลายอย่างคลี่คลายลงไปแล้ว เราจึงต้องมีการฟื้นฟูทุกอย่างให้กลับมาดีเหมือนเดิม หรือให้ดีมากกว่าเดิม จูนจึงดำเนินการจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น ในวันที่ 19 กันยายน 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะใช้ศักยภาพจากซอฟพาวเวอร์ในมิติต่างๆของประเทศไทยเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ เช่นด้านสถานที่ท่องเที่ยว อาหาร วัฒนธรรม ดนตรี และอื่นๆเพื่อใช้ต่อยอดในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆของไทยได้ เพื่อเพิ่มค่า GDP ของไทยให้มากขึ้นด้วย เพราะนั่นความว่าเศรษฐกิจในบ้านเราดีขึ้น พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยและรายใหญ่ ทุกอาชีพก็อยู่ได้ และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศด้วยค่ะ”
จูนมีส่วนในการส่งเสริมโครงการนี้อย่างไรบ้าง
“จูนในฐานะประธานผู้จัดงาน ได้จัดการแข่งขันมัคคุเทศก์ หรือไกด์นำเที่ยวระดับประเทศไทย ประจำปี 2567 ครั้งนี้จูนได้โฟกัสไปที่วงการมัคคุเทศก์หรือไกด์นำเที่ยวของไทยค่ะ เพราะไกด์นำเที่ยวไทยถือเป็นกระบอกเสียงด่านแรกที่นักท่องเที่ยวจะได้มาเจอและได้สัมผัสทุกอย่างที่เป็นไทย ผ่านการนำเสนอของไกด์ จูนจะไม่สามารถมองข้ามกระบอกเสียงสำคัญนี้ไปได้เลยค่ะ ดังนั้นงานที่จูนจัดขึ้น จึงเป็นการดึงศักยภาพของไกด์นำเที่ยวออกมา และเปิดเวลาให้เขาได้พูดถึงการท่องเที่ยวไทยในทศวรรษนี้ ว่าเป็นอย่างไร และควรเป็นอย่างไรต่อไป จะร่วมกันกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยได้อย่างไร ผ่านมุมมองของไกด์นำเที่ยวผู้ที่ลงภาคสนามจริงค่ะ และทำให้ชาวไทยได้รับรู้ไปด้วยว่า ไกด์ไทยมีความพร้อมและศักยภาพมากเพียงใด ในการเตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกในทศวรรษนี้ที่หลายอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติ เขาจะได้กลับไปบอกต่อที่ประเทศของเขา และมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่ประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีก รายได้ก็จะไหลเข้าสู่ประเทศ การจับจ่ายของนักท่องเที่ยวจะทำให้เม็ดเงินสะพัด พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยรายใหญ่ก็อยู่ได้ ธุรกิจโรงแรมหรือสถานที่เที่ยวก็มีรายได้ตามไปด้วย เรียกได้ว่าการบอกของนักท่องเที่ยว เป็นการโฆษณาเชื้อเชิญที่เราไม่ต้องเสียเงินแลกมาเลยค่ะ เราแค่ดูแลเขาให้ดี ให้เขาประทับใจ จากเสน่ห์ไทยที่เรามีอยู่ในมือนี่แหล่ะค่ะ และอีกมุมนึงถึงแม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีทางโซเชียลจะสามารถทำให้นักท่องเที่ยวหาข้อมูลการท่องเที่ยวเองได้อย่างกว้างขวาง แต่สุดท้ายแล้วเนื้อหาและรายละเอียดความเป็นมาของเสน่ห์ไทย ก็ยังสู้ข้อมูลจากการนำเสนอจากไกด์นำเที่ยวไม่ได้ซะทีเดียว เพราะไกด์นำเที่ยวแต่ละสถานที่ รู้ลึกซึ้งถึงประวัติ จารีตดั้งเดิมอย่างแท้จริงนั่นเองค่ะ”
พูดถึงบรรยากาศการประกวดมัคคุเทศก์อาชีพที่มาร่วมแข่งขัน
“มัคคุเทศก์อาชีพทั้ง 15 คนที่ผ่านการคัดเลือกได้มาแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ทั้ง 15 ท่านมีความเป็นมืออาชีพ มีมุมมองที่คนทั่วไปไม่รู้ จุดบอด จุดต้องปรับปรุง และแนวโน้มการท่องเที่ยวไทยในอนาคตด้วย การแข่งขันที่จะคัด 15 คน ให้เหลือ 5 คนสุดท้าย จึงเป็นเรื่องที่หนักใจพอสมควรค่ะ แต่การแข่งขันย่อมต้องมีที่ 1 แต่ถึงแม้คนที่ไม่ได้รางวัล จูนก็อยากจะบอกพวกเขาว่าพวกเขาก็ยังเป็นมัคคุเทศก์มืออาชีพเช่นเดิม ความเก่งกล้าไม่ได้ลดลงเลยค่ะ โดยการจัดงานครั้งนี้มีรางวัลชนะเลิศเป็นเงินสด พร้อมถ้วยรางวัลเกียรติยศ รวมถึงรางวัลขวัญใจสื่อมวลชน ร่วม 150,000 บาทค่ะ”
รู้สึกอย่างไรที่เราเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจประเทศ
“จูนมี vision ที่แน่วแน่มานานมากแล้วค่ะ กับการส่งเสริมประเทศไทยทุกๆด้าน เพื่อต่อยอดสู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ให้ไปสู่จุดยืนใหม่ในระดับโลก เราทำด้วยใจรัก และทำมาหลายปีแล้ว แต่ครั้งนี้จูนทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยจัดการแข่งขันมัคคุเทศก์นี้ขึ้นมา ด้วยงบประมาณส่วนตัวของจูนเองเพียงคนเดียว ซึ่งเต็มใจและภูมิใจมากๆค่ะ ต่อจากนี้โครงการจะมีการสนับสนุนกิจกรรมอะไรอีกนั้น จูนจะพิจารณาตามสถานการณ์บ้านเมือง ณ ตอนนั้นประกอบการตัดสินใจส่งเสริมด้วย เพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับทุกฝ่ายสูงสุดค่ะ”